วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จริงรึเปล่าที่เค้าว่า "โคอาลา" ไม่ใช่หมี

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการเรียกเจ้าตัวนี้ว่าหมีโคอาลาแต่จริงๆ แล้วเจ้านี่น่ะไม่ใช่หมี เพราะตามหลักวิชาการแล้วโคอาลาเป็นสัตว์ในกลุ่มสัตว์จำพวกจิงโจ้ (ซึ่งก็ยังมองไม่ออกว่าหน้าตาโคอาลาเหมือนกันกับจิงโจ้ตรงไหน)ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ แต่จากการที่มันมีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายสัตว์ในตระกูลหมีนี่เอง ทำให้คนส่วนมากเรียกมันว่า หมีโคอาลา(Koala bear) นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้ใครต่อใครหลายคนเข้าใจว่าเจ้าโคอาลานั้นเป็นหมีชนิดหนึ่ง ...

เด็กดีดอทคอม :: จริงรึเปล่าที่เค้าว่า "โคอาลา" ไม่ใช่หมี

สำหรับโคอาลานั้น ตามที่ได้มีการบันทึกไว้ โคอาลาถูกค้นพบในปี พ.ศ.2341 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า พบโดยชาวยุโรปชื่อ John Price ต่อมาพ.ศ.2346 ข้อมูลรายละเอียดของโคอาลาเริ่มถูกตีพิมพ์ในซิดนีย์กาเซ็ตต์ (Sydney Gazette) ค.ศ.1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่าPhascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear) ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็นcinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า

นอกจากหน้าตาหน้ารัก และพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ เกือบจะทั้งวันของเจ้าโคอาลาแล้ว ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของโคอาล่าคือ โคอาลาสามารถกินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหารได้ในขณะเดียวกันที่สัตว์ชนิดอื่นไม่สามารถกินได้เพราะในใบยูคาลิปตัสนั้นมีสารอาหารน้อยและมีสารที่เป็นพิษต่อสัตว์ แต่สำหรับโคอาลาแล้ว ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ระบบย่อยอาหารของโคอาลามีการปรับตัวทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้โคอาลามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 ซ.ม. ที่บริเวณอวัยวะนี้จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ อย่างไรก็ตาม โคอาลามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้เพียงแค่ 25 % ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาลาไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่โคอาลากินใบยูคาลิปตัวประมาณวันละ 2000 ถึง5000 กรัม

เด็กดีดอทคอม :: จริงรึเปล่าที่เค้าว่า "โคอาลา" ไม่ใช่หมี

เด็กดีดอทคอม :: จริงรึเปล่าที่เค้าว่า "โคอาลา" ไม่ใช่หมี

และด้วยความที่อาหารของโคอาลาไม่ค่อยจะมีสารอาหารเท่าไหร่นัก ทำให้โดยปกติมันจะต้องนอนถึง 16-24 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้ใช้ในการดำเนินชีวิต

สำหรับในประเทศไทยเองก็เพิ่งจะมีเจ้าโคอาลาน้อยเกิดขึ้นมาเป็นสมาชิกใหม่ของสวนสัตว์เชียงใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา โดยเจ้าโคอาลาน้อยตัวนี้มีชื่อว่า น้องปรองดอง ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดตั้งชื่อลูกหมีโคอาลาของสวนสัตว์เชียงใหม่ น้องปรองดองถือว่าเป็นโคอาลาตัวที่สามของสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยเจ้าโคอาลาน้อยตัวนี้เป็นลูกซึ่งกำเนิดจากพ่อไบรอันและแม่โคโค่ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ปี 2552 ที่ผ่านมา ..

T

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น