ถ้าหากจะพูดถึงยาสามัญประจำบ้าน “พาราเซตามอล” ถือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรารู้จักกันเป็นดี เรียกว่าแทบจะทุกบ้านต้องมีติดบ้านไว้ เพราะรักษาอาการเจ็บป่วย ปวดหัวตัวร้อนได้กับทุกเพศทุกวัย แถมยังเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย
| ทราบรึเปล่าคะว่า การใช้ยาพาราเซตามอลอย่างพร่ำเพรื่อและติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาภาวะเป็นพิษต่อตับได้นะคะ พี่เหมี่ยวเคยอ่านพบว่านะคะว่าในสหรัฐอเมริกาสาเหตุของอาการตับวายนั้นอันดับหนึ่งคือมาจากการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด รองลงมาก็มาจากสาเหตุของการดื่มแอกอฮอล์ หรือไวรัสตับอักเสบ ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ความเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลประมาณ 100,000 ราย ถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน |
56,000 ราย ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 26,000 ราย การใช้พาราเซตามอลเป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งไตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งโรคนี้คร่าชีวิตคนอเมริกัน 12,000 ราย ต่อปี อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็งไตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 126%นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การก้าวกระโดดของการเกิดโรคนี้อาจจะเกี่ยวโยงกับการใช้ยาที่ผสมพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจาก toxic metabolite ของพราราเซตามอลกระจายไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้นก็สามาารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราอย่างอื่นได้อีก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่าพาราเซตามอลทำให้เกิดต้อกระจกในสัตว์ทดลองได้
สำหรับภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกิดขึ้นได้จากเหตุโดยตั้งใจ คือการรับประทานยาเกินขนาดเพื่ออัตวินิบาตกรรม และโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ 1. รับประทานยาชนิดอื่นที่มีส่วนผสมของราราเซตามอลโาดยไม่ทราบ แล้วรับประทานพาราเซตามอลเข้าไปอีก เนื่องจากปัจจุบันยาหลายชนิดมีส่วนผสมของพาราเซตามอล เช่น ยาบรรเทาหวัดลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อหลายชนิด 2. ปัจจัยเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ง่าย เช่นในผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคตับภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนลดลง ในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษจากพาราเซตามอลได้ง่าย แม้ว่าจะรับประทานในขนาดปกติก็ตาม | |
3. การใช้ยาร่วมกัน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ในระบบขับสารพิษชื่อ CYP450 2E1 ในตับเช่นยา phenytoin, carbamazepine, rifampin เป็นต้น
| ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้พาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง พิษสุรา ภาวะขาดสารอาหาร และในผู้ที่กำลังรับประทานยาที่กระตุ้นเหนี่ยวนำเอนไซม์ cytochrome P450 2E1 ...ห้ามทานพาราเซตามอลแล้วดื่มสุรา หากกำลังใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาหวัด ให้อ่านฉลากให้ดีว่ามีส่วนผสมของพาราเซตามอลหรือไม่ และไม่รับประทานซ้ำซ้อนข้าไปอีก |
และที่สำคัญไม่ควรใช้ยานี้เกินวันละ 2,600 มิลลิกรัม (ประมาณ 5เม็ด ในขนาด 500 mg , จำนวน 8 เม็ดในขนาด 325 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานคือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สูงสุดไม่เกินครั้งละ650 มิลลิกรัม ส่วนการใช้ยาพาราเซตามอลกับเด็กเล็กๆ นั้นให้ดูฉลาก และคำนวณความต้องการให้ถูกต้องก่อนเสมอ เพราะยาน้ำนี้ในประเทศไทยมีหลายขนาด ปริมาณมิลลิกรัมต่อหนึ่งช้อนชาแตกต่างกันไป อีกข้อห้ามที่หลายคนยังไม่ทราบก็คือ ไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันเกิน 3 วัน เราสามารถใช้ยาทางเลือกแทนการใช้ยาพาราเซตามอลได้ เช่น ยาเขียวแก้ไข้ ยาจันทลีลา ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมชนิดต่างๆ ล้วนมีฤทธิ์ลดไข้ได้เช่นกัน | |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น