ทาง ศ.เกียรติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประ เทศไทย กล่าวถึงการใช้ภาษาไทยใน "สื่อวิทยุกระจายเสียง" ว่า เวลานี้ภาษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ สาเหตุมาจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีการดูแลหลักวิธีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทั้งที่สื่อมวลชนเป็นกลุ่มอาชีพที่มีบทบาทสำคัญต่อภาษาไทย ที่ควรเป็นต้นแบบในการใช้ภาษาไทยให้แก่สังคม จะเห็นได้ว่าคำไหนที่สื่อใช้ผิดจะส่งผลให้คนในสังคมใช้ผิดตาม ทำให้การใช้เป็นเรื่องปกติและกลายเป็นคำที่ถูกต้อง และคำใดที่สื่อไม่ได้หยิบมาใช้ คำภาษาไทยคำนั้นจะถูกลืมเช่นกัน
ทางด้าน ผศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ปัญหาแรกที่พบในการใช้ภาษาไทยของสื่อวิทยุกระจายเสียง คือ การกระดกลิ้นพยัญชนะ ร.เรือ มากเกินไปจนกลายเป็นสำเนียงแขก และยังมีการใช้ภาษาที่ผิดกาลเทศะอีกหลายคำ เช่น คำว่า ดุษฎี ซึ่งมีความหมายถึงการยอมรับโดยพึงพอใจ แต่สื่อมักนำมาใช้กับการยอมรับผิด ขณะที่มีการออกเสียงคำว่า กากบาท ผิดเป็น กา-ละ-บาด เป็นต้น
สำหรับการใช้ภาษาไทยคำหนึ่ง ภาษาอังกฤษคำหนึ่ง สามารถใช้ได้แต่ต้องใช้ให้ถูกต้องตามความหมายและออกเสียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะการอ่านชื่อเฉพาะหรือชื่อบุคคล ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษจะไม่มีวรรณยุกต์กำกับ ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษาให้แน่ใจก่อน
ฟังวิทยุไป ก็แอบตกใจไปนะคะ เพราะเป็นอย่างนั้นจริงๆ นั่นแหละ บางคำใช้ภาษาไทยได้ แต่ว่าก็ใช้ภาษาอังกฤษแทน บางครั้งก็ต้องดูความเหมาะสมด้วยนะคะ ส่วนเรื่องกระดกลิ้นนี่ ยังกระดกได้อย่างมั่นใจอยู่ค่ะ ลิ้นยังไม่แข็ง อิอิ ว่าแล้ว ชาวเด็กดีก็หันมาใช้คำให้ถูกต้อง และอ่านออกเสียงให้ถูกต้องกันและชัดเจนกันดีกว่านะคะ
ทางด้าน ผศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ปัญหาแรกที่พบในการใช้ภาษาไทยของสื่อวิทยุกระจายเสียง คือ การกระดกลิ้นพยัญชนะ ร.เรือ มากเกินไปจนกลายเป็นสำเนียงแขก และยังมีการใช้ภาษาที่ผิดกาลเทศะอีกหลายคำ เช่น คำว่า ดุษฎี ซึ่งมีความหมายถึงการยอมรับโดยพึงพอใจ แต่สื่อมักนำมาใช้กับการยอมรับผิด ขณะที่มีการออกเสียงคำว่า กากบาท ผิดเป็น กา-ละ-บาด เป็นต้น
สำหรับการใช้ภาษาไทยคำหนึ่ง ภาษาอังกฤษคำหนึ่ง สามารถใช้ได้แต่ต้องใช้ให้ถูกต้องตามความหมายและออกเสียงให้ชัดเจน โดยเฉพาะการอ่านชื่อเฉพาะหรือชื่อบุคคล ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษจะไม่มีวรรณยุกต์กำกับ ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษาให้แน่ใจก่อน
ฟังวิทยุไป ก็แอบตกใจไปนะคะ เพราะเป็นอย่างนั้นจริงๆ นั่นแหละ บางคำใช้ภาษาไทยได้ แต่ว่าก็ใช้ภาษาอังกฤษแทน บางครั้งก็ต้องดูความเหมาะสมด้วยนะคะ ส่วนเรื่องกระดกลิ้นนี่ ยังกระดกได้อย่างมั่นใจอยู่ค่ะ ลิ้นยังไม่แข็ง อิอิ ว่าแล้ว ชาวเด็กดีก็หันมาใช้คำให้ถูกต้อง และอ่านออกเสียงให้ถูกต้องกันและชัดเจนกันดีกว่านะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น