โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis) หากเกิดที่หนังศีรษะจะต่างจากรังแค (Dandruff) ตรงที่รังแคเป็นสะเก็ด เป็นขุยสีขาว หรือเทา และมีอาการคันหนังศีรษะ รังแคจะไม่มีอาการอักเสบบวมแดงที่หนังศีรษะเลย ส่วนโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณต่อมไขมัน จะมีอาการอักเสบของหนังศีรษะร่วมด้วย ถ้าเผลอไปแกะหรือเกาอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม หรือถ้าทิ้งไว้นานๆ ไม่รักษา สะเก็ดจะหนามากขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้
โรคนี้ส่วนใหญ่มักพบในช่วงหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 18-40 ปี ในทารกระยะ 6เดือนแรก หรือในผู้สูงอายุก็พบได้เช่นกัน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับเชื้อ Pityrosporum ovale หรือ Pityrosporum orbiculare เป็นเชื้อยีสต์ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน กินไขมันและโปรตีนของผิวหนังเป็นอาหาร ซึ่งในคนที่เป็นโรคนี้จะพบเชื้อ Pityrosporum ovale มากขึ้นผิดปกติ ก่อให้เกิดการกระตุ้นการลอกตัวของผิวหนัง ปรากฏเป็นขุยเล็กๆ เนื่องจากเชื้อยีสต์นี้ เป็นเชื้อที่มีอยู่เป็นปกติ (Normal flora) จึงอาจมีโอกาสเป็นใหม่ได้อีกเสมอ
นอกจากนี้เชื้อ Pityrosporum ovale สามารถเปลี่ยนไขมันธรรมดาให้เป็นกรดไขมันได้ และพบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีผนังรูขุมขนไม่แข็งแรง เซลล์หนังกำพร้าบริเวณนั้นๆ จะหลุดลอกง่ายเนื่องจากขาดไขมันชนิด linoleic acid ทำให้เซลล์เหล่านี้หลุดลอกง่ายขึ้น เมื่อมีกรดไขมันมารบกวน ทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นๆ หายๆแสงแดด ความร้อน ความหนาวเย็น อากาศแห้ง ความเป็นด่างของสบู่ และเครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์ สามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้
การดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
1. การดูแลรักษา
โรคนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อป้องกันและลดข้อแทรกซ้อนจากยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ และยาทาลดเชื้อยีสต์ สำหรับยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ถ้าใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เป็นสิว ผิวบาง เส้นเลือดขยาย และติดสเตียรอยด์ได้
2. การดูแลผิว
- การล้างหน้า ควรใช้สบู่ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิว หรืออาจใช้น้ำเปล่าล้างหน้า ล้างหน้าด้วยความนุ่มนวล ไม่ควรล้างหน้าบ่อยจนเกินไป
- เลือกใช้ครีมชุ่มชื้นที่ไม่มีสารก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองได้ง่าย และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพผิว
- ควรเลือกใช้เครื่องสำอางชนิดที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย และไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้
- ควรทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวหน้าจากการรบกวนจากรังสีในแสงแดด
โรคนี้ส่วนใหญ่มักพบในช่วงหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 18-40 ปี ในทารกระยะ 6เดือนแรก หรือในผู้สูงอายุก็พบได้เช่นกัน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับเชื้อ Pityrosporum ovale หรือ Pityrosporum orbiculare เป็นเชื้อยีสต์ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขน กินไขมันและโปรตีนของผิวหนังเป็นอาหาร ซึ่งในคนที่เป็นโรคนี้จะพบเชื้อ Pityrosporum ovale มากขึ้นผิดปกติ ก่อให้เกิดการกระตุ้นการลอกตัวของผิวหนัง ปรากฏเป็นขุยเล็กๆ เนื่องจากเชื้อยีสต์นี้ เป็นเชื้อที่มีอยู่เป็นปกติ (Normal flora) จึงอาจมีโอกาสเป็นใหม่ได้อีกเสมอ
นอกจากนี้เชื้อ Pityrosporum ovale สามารถเปลี่ยนไขมันธรรมดาให้เป็นกรดไขมันได้ และพบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีผนังรูขุมขนไม่แข็งแรง เซลล์หนังกำพร้าบริเวณนั้นๆ จะหลุดลอกง่ายเนื่องจากขาดไขมันชนิด linoleic acid ทำให้เซลล์เหล่านี้หลุดลอกง่ายขึ้น เมื่อมีกรดไขมันมารบกวน ทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นๆ หายๆแสงแดด ความร้อน ความหนาวเย็น อากาศแห้ง ความเป็นด่างของสบู่ และเครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์ สามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้
การดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
1. การดูแลรักษา
โรคนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อป้องกันและลดข้อแทรกซ้อนจากยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ และยาทาลดเชื้อยีสต์ สำหรับยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ถ้าใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เป็นสิว ผิวบาง เส้นเลือดขยาย และติดสเตียรอยด์ได้
2. การดูแลผิว
- การล้างหน้า ควรใช้สบู่ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิว หรืออาจใช้น้ำเปล่าล้างหน้า ล้างหน้าด้วยความนุ่มนวล ไม่ควรล้างหน้าบ่อยจนเกินไป
- เลือกใช้ครีมชุ่มชื้นที่ไม่มีสารก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองได้ง่าย และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพผิว
- ควรเลือกใช้เครื่องสำอางชนิดที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย และไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและลอกเป็นขุยได้
- ควรทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันผิวหน้าจากการรบกวนจากรังสีในแสงแดด