10.แครมบรูเล่ ( Creme Brulee)
แม้ชื่อจะฟังดูแล้วฝรั่งเศสสุดๆ แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าเป็นเช่นนั้น เนื่องจากวิทยาลัยทรินิตี้ในเคมบริดจ์ได้อ้างว่าพวกเขาคือ
ต้นตำรับผู้คิดค้น ขนมสูตรเด็ดนี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 1600 อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีจุดกำเนิดจากอังกฤษ แต่เชื่อแน่ว่าคงไม่มีสถานที่ใด
เหมาะแก่การทานคัสตาร์ดเย็นๆ โรยด้วยน้ำตาลไหม้ ได้เท่ากับใต้หอไอเฟลที่ประดับด้วยไฟสว่างไสวในยามค่ำคืนในกรุงปารีส
9.นาไนโม บาร์ ( Nanaimo Bars)
แคนาดาขึ้นชื่อเรื่องขนมหวาน ? ได้ยินแล้วไม่ต่างกับการพูดว่ากรุงเทพขึ้นชื่อเรื่องทะเลยังไงยังงั้น แต่กระนั้น ขนมรสเลิศดังกล่าว
มีที่มาจากเกาะแวนคูเวอร์ในเมืองนาไนโม รัฐบริติชโคลัมเบีย โดยได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือแม่บ้านท้องถิ่นซึ่งได้ส่งเจ้าขนมทรง
จัตุรัสชิ้นนี้ไปประกวดในนิตยสารและคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ ปัจจุบัน เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในแถบอเมริกาเหนือ
8.แอปเปิ้ล พาย ( Apple Pie )
เช่นเคย แม้จะฟังดูเป็นอเมริกันจ๋า แต่จริงๆ แล้วมีต้นกำเนิดจากเมืองผู้ดี โดยได้รับการคิดค้นขึ้นเมื่อปี 1381 และปกติจะอบด้วยแป้งสองชั้
ในสมัยก่อน ตอนที่ชาวอังกฤษอพยพมาตั้งรกรากในอเมริกา พวกเขาได้นำเมล็ดแอปเปิลมาปลูกด้วย จึงทำให้มันมีความเกี่ยว
พันกับวัฒนธรรมของชาวมะกัน แต่ไม่ว่าจะที่โรงแรมในลอนดอนหรือภัตตาคารในแอลเอ แอปเปิลพายก็เป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดาลูกค้าเหมือนกัน
7.ข้าวเหนียวมะม่วง
ขนมหวานแบบไทยๆ ที่นำมะม่วงสุกเหลืองอร่ามมาทานคู่กับข้าวเหนียวมูนราดด้วยน้ำกะทิ ฟังแล้วชวนน้ำลายสอเป็นอย่างยิ่ง
โดยได้รับความนิยมจากทั้งชาวสยามและชาวต่างชาติ ทั้งยังสามารถหาลิ้มลองได้ทั้งที่โรงแรม ห้างสรรพสินค้า
ภัตตาคาร และร้านอาหารตามท้องถนนทั่วไป
6.แบล็คฟอเรสท์เค้ก ( BlackForestCake )
ด้วยความมีชื่อเสียงในเรื่องชนิทเซล เบียร์ และเค้กรสชาติอร่อยมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่เยอรมนีจะกลายเป็นสถานที่ดื่ม-กินยอดนิยมของเรา
โดยเจ้าช็อกโกแลตเค้กที่ทับซ้อนหลายชั้นด้วยครีม เชอร์รี่ และบรั่นดีผลไม้นี้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นยุค 1900 ทางตอนใต้ของเยอรมนี
(ภายหลังได้รับการปรุงแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยฝีมือของช่างทำเค้กในกรุง เบอร์ลิน) และทุกวันนี้เป็นทื่ชื่นชอบของคนทั่วโลก
ซึ่งแน่นอนว่า นี่ก็เป็นหนึ่งในของโปรดของเราเช่นกัน
5.ฮาโล ฮาโล ( Halo Halo)
จานเด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล
ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆ ไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง
เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม
โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา
4.กุหลับ จามาน ( Gulab Jamun)
ก้อนขนมปังหวานที่คงไม่ถูกปากฝรั่งตาน้ำ ข้าว แต่คอนเฟิร์มว่าอยู่ในรายชื่อขนมอันดับต้นๆ ของชาวอินเดีย และเมื่อมีคนกว่าพันล้านคนชื่นชอบ
ก็ยากจะปฏิเสธได้ว่ามันไม่อร่อย ปกติแล้วมักทำขึ้นโดยใช้ครีมสองชั้นและราด้วยน้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นที่นิยมในอินเดีย ปากีสถาน เนปา
และประเทศในแถบเอเชียใต้
3.ไดฟุกุ ( Daifuku )
ขนมเจลลาตินทรงกลมจากแดนอาทิตย์อุทัยมักสอดไส้ไว้ด้วยถั่วแดงหวาน (และบางครั้งก็อาจเป็นแยมสตอเบอร์รี่
โรยด้วยแป้งบางๆ โดยสามารถหาซื้อมารับประทานได้ทั้งจากกรุงโตเกียว โอซาก้า เกียวโต นากาโนะ และทุกแห่งในญี่ปุ่น
2.บาคลาวา ( Baklava)
ประวัติที่แท้จริงของบาคลาวายากที่จะระบุ ให้แน่ชัด เพราะว่ากันว่ามันมีต้นกำเนิดจาก จักรวรรดิอ็อตโตมัน ดินแดนเมโสโปเตเมีย
และอาหรับ โดยขนมหวานชนิดนี้ทำขึ้นจากการนำแป้งฟิลโลมาสอดไส้ไว้ด้วยถั่ว น้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม หากต้องการลิ้มลองรสชาติ
แบบต้นตำรับก็ต้องไปรับประทานถึงถิ่นที่อ้างว่าเป็น จุดกำเนิด ทั้งกรุงอิสตันบูล กรุงเอเธนส์ และกรุงเบรุต
แม้แต่ละที่อาจจะมีรสแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ยังการันตีได้ถึงความเอร็ดอร่อย
1.ทีรามิสุ ( Tiramisu )
เค้กชื่อดังของอิตาลีทำขึ้นจากเล ดี้ฟิงเกอร์ราดเอสเปรสโซ่ สอดไส้ด้วยมาสคาร์โปนชีสและซาบากลิออเน
ลือกันว่าทีรามิสุมีจุดกำเนิดมาจากการที่แม่บ้านของทหารในสงครามโลกครั้งที่ สองทำเค้กให้สามีรับประทาน
โดยเชื่อว่าส่วนผสมของคาเฟอีนกับน้ำตาลจะช่วยให้พวกเขามีพลังและแคล้วคลาด จากอันตราย
ช่างโรแมนติคเสียนี่กะไร เหมาะจะเป็นของหวานรับวันวาเลนไทน์โดยแท้
หลังฝนตกเราต่างรอคอยความงดงามของรุ้งกินน้ำ ชื่นชมกับสีสันทั้ง 7 อันประกอบด้วย สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด สีแดง
ซึ่งแถบสีรุ้งจะปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าในลักษณะโค้งเท่านั้น ปรากฏการณ์เช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อแสงตกกระทบกับหยดน้ำ จะทำให้เกิดการหักเหหรือโค้งงอ แสงที่ผ่านออกมาทางด้านหลังของหยดน้ำก็จะเกิดการหักเหมากกว่าเดิม ส่วนต่างมุมที่ตกกระทบและผ่านออกไปมีค่าเฉลี่ยประมาณ42 องศา โดยที่แสงแต่ละสีมีการโค้งงอ หรือเบี่ยงเบนต่างกัน จึงเป็นเหตุให้สามารถเห็นแสงสีรุ้งได้
สำหรับรุ้งกินน้ำที่เห็นบนท้องฟ้านั้น เกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบละอองน้ำฝนจำนวนมากนับล้านๆหยด
และผ่านออกมาด้วยค่ามุมเฉลี่ย 42 องศา หากสองคนยืนอยู่ในตำแหน่งห่างกันประมาณ 2-3 ฟุต จะเห็นรุ้งกินน้ำขึ้นในตำแหน่งเดียวกัน แต่รุ้งกินน้ำที่ทั้งสองเห็นนั้นจะไม่ใช้รุ้งกินน้ำเส้นเดียวกัน เพราะรุ้งกินน้ำจะเกิดจากละอองน้ำฝนที่อยู่ต่างตำแหน่งกันนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่รุ้งกินน้ำโค้งหรือไม่เป็นเส้นตรงเหมือนรูปอื่นๆ นั้นก็เนื่องมาจากละอองน้ำฝนหลายๆละอองนั้น ทำให้แสงเปลี่ยนทิศทางต่างกันคือมีทั้งที่โค้งขึ้นเป็นมุม 42องศา โค้งลงเป็นมุม 42 องศา และโค้งออกมาทางด้านข้างของละอองน้ำ แต่คนเราจะเห็นเพียงแสงสีรุ้งที่โค้งขึ้นมากกว่า 42 องศาเท่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเห็นเส้นรุ้งเป็นรูปโค้ง
เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม
ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี
การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84°ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
ทรง คิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน ทั้งนี้ แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม" ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง"
คำ ว่า "ปฏิทิน" ที่เราใช้ในปัจจุบัน สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษาสันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้ การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะ นั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ" เมืองไทยประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แม้เราจะใช้ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย
ดัง นั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน" ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้
มกราคม คือ มกร (มังกร) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร
กุมภาพันธ์ คือ กุมภ์ (หม้อ) + อาพนธ แปลว่า การมาถึงของราศีกุมภ์
มีนาคม คือ มีน (ปลา) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน
เมษายน คือ เมษ (แกะ) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ
พฤษภาคม คือ พฤษภ (วัว,โค) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ
มิถุนายน คือ มิถุน (ชายหญิงคู่) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีมิถุน
กรกฎาคม คือ กรกฎ (ปู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ
สิงหาคม คือ สิงห (สิงห์) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห์
กันยายน คือ กันย (สาวพรหมจารี) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย์
ตุลาคม คือ ตุล (ตาชั่ง ตราชู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล
พฤศจิกายน คือ พิจิก, พฤศจิก (แมงป่อง) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก
ธันวาคม คือ ธนู (ธนู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู
อีกทั้งกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน 4 ทางสุริยคติ แต่เป็นเดือน 5 ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นวันที่ 1 มกราคม 2484 จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 และทรงใช้คำว่า"ปฏิทิน" แทน "ประติทิน" มาโดยตลอด ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455
คราวนี้มาดู ชื่อเดือนของฝรั่งกันบ้าง
ชื่อเดือนของฝรั่งในหนึ่งปีที่มี 12 เดือนนั้น มีชื่อมาตั้งแต่สมัยโรมัน แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มาจากชื่อของเทพเจ้า แต่มักจะมาจากตัวเลขลำดับที่ของแต่ละเดือนในภาษาโรมัน
January (มกราคม)
เป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Janus ของชาวโรมันโบราณ จึงเรียกเดือนนี้ว่า "Januarius"
February (กุมภาพันธ์)
เป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Februus ของชาวอิตาเลียนโบราณ บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Februa" เป็นเดือนที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองกรุงโรม
March (มีนาคม)
เป็นชื่อเดือนแรกของชาวโรมัน โดยใช้ชื่อของเทพเจ้าสงครามแห่งดาวอังคาร (the war-god Mars)
April (เมษายน)
ชื่อเดือนมาจากคำว่า "Aprilis" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "Aperire" หมายถึง "เปิด" (To open) ซึ่งอาจมาจาก "ดวงอาทิตย์"
May (พฤษภาคม)
เป็นเดือนลำดับที่ 3 ในปฏิทินโรมัน ชื่อของเดือนอาจมาจากชื่อของเทพธิดาMaiesta ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความเกียรติยศ และชื่อเสียง
June (มิถุนายน)
เป็นเดือนลำดับที่ 4 ในปฏิทินโรมัน ชื่อของเดือนเป็นชื่อเทพเจ้า Juno
July (กรกฎาคม)
เป็นเดือนที่กษัตริย์ Julius Ceasar ประสูติ โดยตั้งชื่อเดือนนี้เป็นเกียรติแก่พระองค์ เมื่อปี ค.ศ.44 ซึ่งเป็นเดือนที่ถูกลอบปลงพระชนม์ และเรียกชื่อเดือนนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "Quintilis" หมายถึง "เดือนลำดับที่ 5" (the fifth month)
August (สิงหาคม)
ชื่อเดือนเดิมเรียกว่า "Sextilis" มาจากคำว่า "Sexus" แปลว่า "หก" (Six) แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นชื่อ Augustus เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์องค์แรกของชาวโรมัน
September (กันยายน)
เป็นเดือนลำดับที่ 7 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Septem" แปลว่า "เจ็ด" (Seven)
October (ตุลาคม)
เป็นเดือนลำดับที่ 8 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Octo" แปลว่า "แปด" (Eight)
November (พฤศจิกายน)
เป็นเดือนลำดับที่ 9 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Novem" แปลว่า "เก้า" (Nine)
December (ธันวาคม)
เป็นเดือนลำดับที่ 10 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Decem" แปลว่า "สิบ" (Ten)